วันอังคารที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2560

การจัดจำแนกสิ่งมีชีวิต



ภาพที่ 1 ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต
ที่มา:https://dimichri65.blogspot.com

การจัดจำแนกสิ่งมีชีวิต (classification of organisms)การจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ไม่ใช่เพียงเป็นการบอกชื่อชนิดของสิ่งมีชีวิตเท่านั้นแต่จะต้องสามารถบ่งบอกถึงลำดับของสิ่งมีชีวิตและตำแหน่งในการเกิดขึ้นของชนิดในขบวนการวิวัฒนาการได้ด้วยการศึกษาชนิด ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตและความสัมพันธ์ในเชิงวิวัฒนาการระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างๆ เรียกว่าอนุกรมวิธาน taxonomy หรืออาจเรียกว่า systematics แต่นักชีววิทยาบางส่วนอาจจะแยกทั้งสองศาสตร์นี้ออกจากกัน โดยถือว่า taxonomyเป็นการศึกษาเพื่อให้คำอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตนั้นๆ (description of species) ส่วน systematics เป็นการศึกษาเพื่อจัดกลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่มีวิวัฒนาการมาเหมือนกันให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน ซึ่งสามารถ ใช้ในการอธิบายความสัมพันธ์ของชาติวงศ์วานและนำมาจัดเป็นประวัติชาติพันธุ์(phylogeny) ของสิ่งมีชีวิตกลุ่มต่างๆได้ การจัดทำphylogeny ของสิ่งมีชีวิตสามารถทำได้ในทุกระดับของสิ่งมีชีวิต เช่นการทำ phylogeny เพื่อแสดงความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ใน อาณาจักรพืชอาณาจักรสัตว์และความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระดับอื่นๆเช่นในระดับสกุล(genus)การจำแนกสิ่งมีชีวิตมีหลายระบบ ดังนี้
                1. Artificial  system  จัดจำแนกสิ่งมีชีวิตโดยพิจารณาลักษณะภายนอกทั่ว ๆ  ไปเท่าที่สังเกตได้  พวกที่มีลักษณะคล้ายกันจัดไว้พวกเดียวกัน พวกที่มีลักษณะต่างกันก็แยกออกไป  ระบบนี้นิยมใช้ในระยะ  ค.ศ. ที่ 17 - 18
                2. Natural  system  จำแนกโดยอาศัยลักษณะธรรมชาติ  ลักษณะภายนอก  ลักษณะภายใน  พฤติกรรมและนิเวศน์วิทยา  ระบบนี้ใช้ระหว่างกลาง  ค.ศ. ที่  18 – 19
                3. Phylogenetic  system   พิจารณาถึงความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต  และการมีบรรพบุรุษร่วมกัน  และได้นำความรู้แผนใหม่ทางชีววิทยาและวิทยาศาสตร์สาขาอื่น ๆ เข้ามาประกอบด้วย  ระบบนี้ได้รับความนิยมนำมาใช้จานถึงปัจจุบัน
                4. Modern  system  ระบบนี้เป็นการผสมระหว่าง  Natural  system  กับ Phylogenetic  system  เข้าด้วยกันโดยรวมลักษณะภายนอก  ลักษณะภายใน  เอมบริโอ ลักษณะทางชีวเคมี  เช่นผนังเซลล์ประกอบด้วยสารอะไรบ้าง มีอาหารเก็บไว้ที่ไหนมีรงควัตถุอะไร  จำนวนโครโมโซม  รวมทั้งสภาวะแวดล้อมของพืชและซากดึกดำบรรพ์(fossil) มาเป็นเกณฑ์พิจารณา


ที่มา:https://sites.google.com.

ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.nana-bio.com/e-learning/biodiversity/biodiversity03/Biodiversity03.html






ประวัติการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิต


  อริสโตเติล (Aristotoe)




ภาพที่ 1 อริสโตเติล
ที่มา : http://www.ipecp.ac.th/ipecp/cgi-binn/BP1/Program/chapter7/image1/p3_clip_image001.gif
              
               อริสโตเติล (Aristotoe) นักปราชญ์ชาติกรีก เป็นผู้ริเริ่มในการจำแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่  โดยแบ่งพืช ออกเป็น ไม้ยืนต้น (tree) ไม้พุ่ม (shrubs) และไม้ล้มลุก (herbs)  จำแนกสัตว์ออก พวกที่มีเลือดสีแดงและไม่มีเลือดสีแดง

    

ทีโอเฟรทัส (Theophratus) 

ภาพที่ 2 ทีโอเฟรทัส
ที่มา :  https://teamtirawutchantanavorakulchai.files.wordpress.com/2015/09.jpg
              ทีโอเฟรทัส (Theophratus) นักปราชญ์ชาติกรีก ได้อธิบายการจำแนกพืชไว้ในหนังสือชื่อ  Historia  Plantarum โดยบรรยายลักษณะพืชไว้ถึง 500 ชนิด ต่อมาได้รับการยกย่องเป็น "บิดาแห่งพฤษศาสตร์"


จอห์นเรย์ (John Ray) 

ภาพที่ 3  จอนเรย์
ที่มา :https://sites.google.com/site/social0054/_/rsrc/John_Ray_from_NPG.jpg.
            
                      จอห์นเรย์ (John Ray) นักชีววิทยาชาวอังกฤษ ได้จำแนกพืชออกเป็นพืชใบเลี้ยงคู่และพืช ใบเลี้ยงเดี่ยว  และเป็นผู้นำคำว่า สปีชีส์ (species) มาใช้เป็นครั้งแรก 



คาโรลัส สินเนียส (Carolus Linnaeus

ภาพที่ 4 คาโรลัส  สินเนียส
ที่มา : https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/6/68/.jpg

                คาโรลัส สินเนียส (Carolus Linnaeus) นักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน  เป็นผู้ริเริ่มจัดการ ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์(Scientific name)ให้กับสิ่งมีชีวิตประกอบด้วยคำ 2  คำ  คำแรกเป็นชื่อ จีนัส (Genus) ส่วนคำที่สองเป็นชื่อระบุชนิดของสิ่งมีชีวิต  การเรียกชื่อโดยใช้ 2  คำเช่นนี้เรียกว่าระบบทวินาม (Binomial  nomenclature)  ได้เขียนหนังสือชื่อ Systema  Naturae  และ  Species  Plantarum  ต่อมาได้รับการยกย่องว่าเป็น  บิดาแห่งการจำแนกสิ่งมีชีวิต (Father  of  Modern  Classification)


เอิร์น แฮคเคล (Ernst Haeckel) 

ภาพที่ 5 เอิร์น แฮคเคล
ที่มา : http://www.payer.de/mahavamsa/chronik01a01.gif

            เอิร์น แฮคเคล (Ernst Haeckel) นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันจำแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็น  อาณาจักร คือ อาณาจักรพืช   อาณาจักรสัตว์  และอาณาจักรโปรติสตา ได้นำคำว่า โพรทิสตา (Protista)  มาใช้เป็นคนแรก


โคปแลนด์ (Copeland) 

      โคปแลนด์ (Copeland) จำแนกสิ่งมีชีวิตเป็น 4 อาณาจักร คือ

              1. อาณาจักรโมเนอรา (Kingdom Monera)

               2. อาณาจักรโพรทิสตา (Kingdom Protista)


               3. อาณาจักรพืช (Kingdom Metaphyta)


               4. อาณาจักรสัตว์ (Kingdom Metazoa)



วิตเทเกอร์ (Whittaker)


             วิตเทเกอร์ (Whittaker)ได้จำแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็น  5  อาณาจักร ซึ่งการจำแนกของวิตเทเกอร์เป็นที่ยอมรับและนำมาใช้มากที่สุดจนถึงปัจจุบัน คือ   

          
              1. อาณาจักรโมเนอรา (Kingdom Monera)

              2. อาณาจักรโพรทิสตา (Kingdom Protista)

              3. อาณาจักรฟังไจ (Kingdom Fungi)

              4. อาณาจักรพืช (Kingdom Metaphyta)

              5. อาณาจักรสัตว์ (Kingdom Metazoa)



ที่มา : http://www.ipecp.ac.th/ipecp/cgi-binn/BP1/Program/chapter7/p4.html

                                           ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่http://kasana-kas.blogspot.com/2011/08/blog-post_5324.html









หลักเกณฑ์ในการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิต



ที่มา : http://1.bp.blogspot.com/ Tq5fexTAY2I/s0JPE7SYHts/s1600/Biodiversity.jpg

หลักเกณฑ์ในการจำแนกสิ่งมีชีวิต  พิจารณาลักษณะสำคัญดังนี้


           1. ลักษณะโครงสร้างทั้งภายนอกและภายในของสิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ  โครงสร้างที่มีต้นกำเนิด เดียวกัน แต่ทำหน้าที่ต่างกัน  (Homologous  structure)  เช่น  แขนคน  ขาสุนัข  ปีกนก  ครีบปลาวาฬ  ครีบปลาต่าง ๆ  จะเห็นว่าครีบปลาวาฬคล้ายแขนคนมากกว่าครีบปลา และโครงสร้าง ต่างกัน แต่ทำหน้าที่อย่างเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน (Analogous  structure)  เช่นปีกนกกับปีกผีเสื้อ เป็นต้น


ภาพที่ 1 ตัวอย่างโครงสร้างที่มีต้นกำเนิดเดียวกันแต่ทำงานแตกต่างกัน
ที่มา : http://www.ipecp.ac.th/ipecp/image1/p3_clip_image001.gif



ภาพที่ 2 ตัวอย่างโครงสร้างที่มีต้นกำเนิดต่างกันแต่ทำงานเหมือนกัน
ที่มา : http://www.ipecp.ac.th/ipecp/cgi-binn/BP1/Program/chapter7/image1/p3_clip_image003.gif


            2. แบบแผนการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต  ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกเอมบริโอมีการเจริญคล้ายกันเพียงใด  เช่น การเจริญของเอมบริโอของสัตว์มีกระดูกสันหลังจะต้องมีช่องเหงือก (gill slits)  ที่บริเวณคอหอย  แต่เมื่อเจริญเป็นตัวเต็มวัยแล้วจะปิดไปยกเว้นปลา  จึงแตกต่างกันในระยะโตเต็มที่


ภาพที่ 3  ภาพแสดงแบบแผนการเจริญเติบโตขงสิ่งมีชีวิต
ที่มา : http://www.schoolhousevideo.org/Media/embryology.jpg


             3. ความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ  สิ่งมีชีวิตที่มาจาก บรรพบุรุษเดียวกัน ย่อมมีความสัมพันธ์กันหรืออาจเปรียบเทียบจากซากดึกดำบรรพ์


ภาพที่ 4 ภาพแสดงความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการ
ที่มา : http://www.ipecp.ac.th/ipecp/cgi-binn/BP1/Program/chapter7/image1/p3_clip_image006.jpg
           

         4. การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม  การสืบพันธุ์  การดำรงชีพ  และพฤติกรรมต่าง ๆ


ภาพที่ 5 ความสัมพันธ์ทางเครือญาติและส่วนประกอบทางเคมีของ DNA ของลิงกับมนุษย์
ที่มา : 
http://www.wildchimps.org/wcf/images/generel.gif



              5. ส่วนประกอบทางชีวเคมีของเซลล์หรือสารที่เซลล์สร้างขึ้น   และกระบวนการทาง      สรีรวิทยาที่คล้ายคลึงหรือแตกต่างกัน





ภาพที่ 6 ภาพแสดงสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน
ที่มา : http://kingdomanimal.weebly.com/uploads/1/3/5/0/13506963/7544409_orig.jpg


ที่มา : http://www.ipecp.ac.th/ipecp/cgi-binn/BP1/Program/chapter7/p4.html

ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่: https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%99











อาณาจักรมอนอรา



ที่มา : https://3.bp.blogspot.com/-Y9-ZO8oCi34/WVJ6BHdO4pI//s320/p13.gif


ลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรมอเนอรา

    
     เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่มีโครงสร้างเซลล์แบบโพรคาริโอต (prokaryotic cell) ในขณะที่สิ่งมีชีวิตอื่นๆทุกอาณาจักรมีโครงสร้างเซลล์แบบยูคารีโอต (eukaryotic cell)

     - ไม่มีออร์แกเนลล์ชนิดมีเยื่อหุ้มเช่น ร่างแหเอนโดพลาสซึม กอลจิคอมเพลกซ์ ไลโซโซม คลอโรพลาสต์ มีเฉพาะออร์แกเนลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้มคือไรโบโซม


สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรนี้แบ่งเป็น ไฟลัม คือ ดังนี้
     1. Phylum  Schizophyta (ไฟลัมซิโซไฟตา) ได้แก่แบคทีเรีย
     2. Phylum  Cyanophyta หรือ Cyanobacteria (ไซยาโนแบคทีเรีย) ได้แก่สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน


Phylum  Schizophyta (ไฟลัมซิโซไฟตา) 

             -สิ่งมีชีวิตที่จัดอยู่ในไฟลัมนี้  ได้แก่ แบคทีเรีย
ลักษณะสำคัญ
           -เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว ผนังเซลล์คล้ายร่างแห เรียกว่า mucopeptide(มิวโคเปปไทด์) หรือ glucosaminopeptide  (กลูโคซามิโนเปปไทด์) เพราะประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรตและกรดอะมิโน


ภาพที่ 1  ส่วนประกบของแบคทีเรีย
ที่มา :http://www.ucmp.berkeley.edu/bacteria/bacteriamm.html


รูปร่างของแบคทีเรีย
     ลักษณะรูปร่าง มี 3 ลักษณะคือ
           1. รูปร่างกลม เรียกว่า coccus           
           2. รูปร่างแบบแท่งยาว เรียกว่า bacillus
           3. รูปร่าง เกลียว เรียกว่า spirillum 
          
ภาพที่ 2 ภาพแสดงตัวอย่างรูปร่าของแบคทีเรีย
ที่มา : https://sites.google.com/site/gfopjrtigdioitwoirnlkfgoi/.jpg
การเรียงตัวของแบคทีเรีย 
             การเรียงตัวของแบคทีเรีย  มีหลายแบบ เช่น
          Micrococcus : เซลล์เดี่ยว
          Diplococcus : เซลล์เรียงเป็นคู่
          Streptococcus : เซลล์เรียงต่อเป็นสาย
          Staphylococcus : เซลล์เป็นกลุ่มรูปร่างไม่แน่นอน
ภาพที่ 2  การเรียงตัวของแบคทีเรีย
ที่มา : http://www.soilandhealth.org/01aglibrary/010112Krasil/Fig.20.jpeg

ประโยชน์ของแบคทีเรีย
     1. ด้านอุตสาหกรรม เช่นการผลิตอาหารหมัก ใช้ฟอกหนัง
     2. ด้านการเกษตร เช่นใช้เป็นปุ๋ย
     3. การทดสอบคุณภาพน้ำ
     4. ทางด้านการแพทย์ เช่นการผลิตยาปฏิชีวนะ
     5. ใช้ในเทคโนโลยีชีวภาพ โดยใช้เทคนิคทางพันธุวิศวกรรมสร้างแบคทีเรียที่มีลักษณะต่าง ๆ
     6. ช่วยย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิตให้เป็นอาหารของพืช

โทษของแบคทีเรีย
     1. ผลิตสารพิษที่เป็นอันตราย
     2. ทำให้เกิดโรคต่างๆ ใน คน เช่น ไทฟอยด์ อหิวาตกโรค ปอดบวม วัณโรค คอตีบ สัตว์ เช่น แอนแทรกซ์ บาดทะยัก และพืช เช่น โรครากเน่า โรคใบไม้ของสาลี่


Phylum  Cyanophyta (ไซยาโนแบคทีเรีย)

   
    -ได้แก่ สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (Blue-green algae) ปัจจุบันเรียกชื่อใหม่ว่า Cyanobacteria 

ลักษณะของสิ่งมีชีวิตในไฟลัมไซยาโนไฟตา คือ

     1. ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส เป็นเซลล์พวกโปรคารีโอต ไม่มี flagella
     2. มี chlorophyll phycocyanin phycorythin กระจายในเซลล์ แต่ไม่ได้รวมเป็น chloroplast
     3. ผนังเซลล์เป็น cellulose และ pectin
     4. มีขนาดเล็ก อาจอยู่ในลักษณะ
          4.1 เซลล์เดี่ยว หรือเซลล์กลุ่ม เช่น Gloeocapsa , Chroococcus และ Eucapsis

ภาพที่ 3 ลักษณะของสาหร่ายที่อยู่เดี่ยว หรือเป้นกลุ่ม
ที่มา : https://sites.google.com/site/gfopjrtigdioitwoirnlkfgoi/_/rsrc/.jpg


                4.2 เซลล์ที่จัดเรียงเป็นสาย เช่น Anabaena , Oscillatoria และ Spirulina

ภาพที่  4 ลักษณะของสาหร่ายที่เรียงตัวกันเป็นสาย
ที่มา : https://sites.google.com/site/gfopjrtigdioitwoirnlkfgoi/_/rsrc/.jpg



การสืบพันธุ์ของ Cyanocacteria
     
     1. การแบ่งตัว Binary fission.
     2. การหักเป็นท่อน (fragmentation) พบในพวกที่เป็นสาย
     3. สร้างสปอร์หรือสร้างเซลล์พิเศษ เช่น akinete

ประโยชน์
    
     - เป็นผู้ผลิตอาหาร และ O2
     - Spirulina หรือเกลียวทอง มี protein สูง ใช้ทำอาหารเสริมคนและสัตว์
     - Nostoc Anabaena Oscillatori สามารถเพิ่มความตรึง ทำเป็นปุ๋ยในดิน เช่น แหนแดง (Azolla) ซึ่ง Anabaena อยู่ช่งว่างกลางใบ


ที่มา  :http://www.ipecp.ac.th/ipecp/cgi-binn/BP1/Program/index.html

                        ที่มา : http://www.ipecp.ac.th/ipecp/cgi-binn/BP1/Program/chapter7/p8_1.html

ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ : https://kingdommoneraluv.wordpress.com





อาณาจักรโปรติสตา



ที่มา: https://shortnotebio.files.wordpress.com/2017/01/kingdom-protista-n.jpg

ลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรโปรติสตา

     1. ร่างกายประกอบด้วยโครงสร้างง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน ส่วนมากประกอบด้วยเซลล์เดียว (unicellular) บางชนิดมีหลายเซลล์รวมกันเป็นกลุ่ม เรียกว่า โคโลนี (colony) หรือเป็นสายยาว (filament) แต่ยังไม่ทำหน้าที่ ร่วมกันเป็นเนื้อเยื่อ (tissue)หรืออวัยวะ (organ) แต่ละเซลล์สามารถทำหน้าที่ของความเป็นสิ่งมีชีวิตได้ครบถ้วนอย่าง อิสระ
     2. ไม่มีระยะตัวอ่อน (Embryo) ซึ่งต่างจากพืชและสัตว์ที่มีระยะตัวอ่อนก่อนที่จะเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัย
     3. การดำรงชีพ มีทั้งชนิดที่เป็นผู้ผลิต (Autotroph) เพราะมีคลอโรฟิลล์ เป็นผู้บริโภค (Consumer) และเป็นผู้ย่อยสลายอินทรียสาร (Decomposer)
     4. โครงสร้างของเซลล์เป็นแบบยูคาริโอติก (Eucaryotic) ซึ่งมีเยื่อหุ้มนิวเคลียส ได้แก่ โพรโทซัว เห็ด รา ยีสต์ ราเมือก สาหร่ายต่าง ๆ
     5. การเคลื่อนที่ บางชนิดเคลื่อนที่ได้โดยใช้ ซีเลีย (cilia) แฟลกเจลลัม (flagellum) หรือซูโดโปเดียม (Pseudopodium) บางชนิดเคลื่อนที่ไม่ได้
     6. การสืบพันธุ์ ทั้งแบบไม่อาศัยเพศ (Asexual reproduction) และแบบอาศัยเพศ (Sexual reproduction) แบบอาศัยเพศมีทั้งชนิดคอนจูเกชัน (Conjugation) ซึ่งเกิดจากเซลล์สืบพันธุ์ที่มีรูปร่างและขนาดเหมือนกัน มารวมกัน ดังเช่นที่พบในพารามีเซียม ราดำ เป็นต้น และชนิดปฏิสนธิ (fertilization) ซึ่งเกิดจากเซลล์สืบพันธุ์ ที่มีรูปร่างและขนาดต่างกันมารวมกัน ดังเช่นที่พบในสาหร่ายเป็นส่วนใหญ่ เป็นต้น

อาณาจักรโปรติสตา แบ่งได้เป็น ไฟลัมและ ดิวิชัน  คือ

      ไฟลัมโปรโตซัว (Phylum Protozoa)

   โปรโตซัว เป็นโปรติสต์เซลล์เดียวที่มีลักษณะคล้ายสัตว์ ในตอนแรกจึงถูกจัดอยู่ในอาณาจักรสัตว์ มีลักษณะสำคัญดังนี้

     1. เป็นเซลล์เดียวบางชนิดเป็นเซลล์อยู่เดี่ยว ๆ บางชนิดรวมกันเป็นกลุ่ม (colony) มีขนาดเล็กต้องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์
     2. ไม่มีอวัยวะหรือเนื้อเยื่อใด ๆ มีออร์กาแนลทำหน้าที่ต่าง ๆ ในเซลล์
     3. มีเซลล์เมมเบรนเป็นกรอบของเซลล์บางชนิดมีโครงแข็งหุ้มเป็นสารพวกเซลลูโลส หรือเจลาติน
     4. ขับถ่ายของเสียที่เป็นของเหลว โดยคอนแทรกไทล์ แวคิวโอล นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ ควบคุมสมดุลน้ำภายในเซลล์ด้วย จึงเรียกคอนแทรไทล์ของโปรโตซัวว่าเป็น ออสโมเรกูเลเดอร์ (osmoregulator)
     5. การดำรงชีวิตมีทั้งที่หากินเป็นอิสระในน้ำเน่า เช่น อะมีบา สังเคราะห์ด้วยแสง สร้าง อาหารได้เอง เช่น ยูกลีนา เป็นปรสิต เช่น เชื้อไข้จับสั่น
     6. การสืบพันธุ์ ตามปกติจะสืบพันธุ์แบบไม่ใช้เพศ คือการแบ่งตัวจาก 1 เป็น 2 นอกจากนี้ยังมีการสืบพันธุ์แบบมีเพศ คือการเข้าจับคู่กันหรือการคอนจูเกชัน (conjugation)
     7. การเข้าเกราะ (encystment) พบในโปรโตซัวหลายชนิด เช่นยูกลีนา จะเข้าเกราะเมื่อ สิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสม
     8. รูปร่างมีหลายแบบ ส่วนใหญ่เป็นรูปไข่ ยาวรี หรือมีรูปร่างไม่แน่นอน
     9. อวัยวะเคลื่อนที่ของโปรโตซัวในแต่ละกลุ่มจะแตกต่างกัน ซึ่งจะนำมาใช้ในการแบ่ง หมวดหมู่ระดับคลาส เช่น มีแฟลกเจลลา ซีเลีย เป็นต้น


ภาพที่ 1 โปรโตซัวชนิดต่างๆ
ที่มา : http://www.geocities.com/sumpan2000_th/unit_3/sa_1/protista/Protozoa.gif

ดิวิชัน คลอโรไฟตา (Division Chlorophyta) 

      ดิวิชัน คลอโรไฟตา (Division Chlorophyta) สาหร่ายในกลุ่มนี้มีชื่อเรียกทั่วไปว่า สาหร่ายสีเขียวจัดเป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุด พบทั้งในน้ำจืด น้ำเค็ม และน้ำกร่อย บางชนิดลอยตามผิวน้ำ บางชนิดเกาะกับ พืชอื่นหรือก้อนหิน บางชนิดอาศัยอยู่ในเซลล์สิ่งมีชีวิตอื่น เช่น ในโปรโตซัว ไฮดรา หรือฟองน้ำ ในแหล่งน้ำธรรมชาติ บางครั้งจะพบว่าน้ำมีสีเขียวเข้ม เกิดขึ้น สีเขียวดังกล่าวคือ สาหร่ายในกลุ่มนี้เป็นส่วนใหญ่

ภาพที่ 2 ตัวอย่างสาหร่ายในกลุมคลโรไฟตา
ที่มา : https://sites.google.com/site/gfopjrtigdioitwoirnlkfgoi -po-rti-s-ta-kingdom-protista/Chlorella2-horz.jpg

ดิวิชัน ยูกลีโนไฟตา (Division Euglenophyta) 

         ดิวิชัน ยูกลีโนไฟตา (Division Euglenophyta) สาหร่ายในกลุ่มนี้มีอยู่ พวกคือ พวกที่สังเคราะห์ อาหารเองได้ และพวกที่สังเคราะห์อาหารเองไม่ได้ ส่วนใหญ่จะมีรูปร่างเป็นเซลล์เดียว เคลื่อนที่ได้ มีลักษณะคล้ายโปรโตซัว  เรียกสิ่งมีชีวิตในดิวิชันนี้ ว่า ยูกลีนา

ภาพที่ 3 ยูกลีนา
ที่มา : https://sites.google.com/site/gfopjrtigdioitwoirnlkfgoi/-po-rti-s-ta-kingdom-protista/Espirogr-horz.jpg

 ดิวิชัน แคโรไฟตา (Division Charophyta) 

      ดิวิชัน แคโรไฟตา (Division Charophyta) สาหร่ายในกลุ่มนี้พบมากในบ่อน้ำจืดในทะเลสาบ หรือแหล่งน้ำที่มีหินปูนละลายอยู่ สาหร่ายในกลุ่มนี้จะ มีลักษณะคล้ายพืชชั้นสูงมาก เช่น มีส่วนที่ทำหน้าที่ คล้ายลำต้น ใบ และราก
       
ภาพที่ 4  สาหร่ายน้ำจืด

ที่มา : http://www.biologie.uni-rostock.de/oekologie/IG_characeen/photos/Chara_baltica.jpg

 ดิวิชัน ฟีโอไฟตา (Division Phaeophyta) 

       ดิวิชัน ฟีโอไฟตา (Division Phaeophyta) สาหร่ายในกลุ่มนี้มีชื่อเรียกทั่วไปว่า สาหร่ายสีน้ำตาล เนื่องจากภายในเซลล์ของสาหร่ายกลุ่มนี้มี รงควัตถุพวก ฟูโคแซนทิน(fucoxanthin) ที่ทำให้เกิดสีน้ำตาลมากกว่ารงควัตถุอื่น สาหร่ายในกลุ่มนี้มีประโยชน์ทางเศรษฐกิจมาก คือ บางชนิด ใช้เป็นอาหารโดยตรง ซึ่งนิยมรับประทานกันในยุโรป บางชนิดนำมาสกัดสารประกอบพวกแอลจิน (algin) เพื่อใช้ทำสี ทำยา และขนมหวานบางชนิด

ภาพที่ 5 สาหร่ายในดิวิชันฟีโอไฟตา
ที่มา : https://sites.google.com/site/gfopjrtigdioitwoirnlkfgoi/-po-rti-s-ta-kingdom-protista/kelp-horz.jpg

ดิวิชัน คริสโซไฟตา (Division Chrysophyta)  

         ดิวิชัน คริสโซไฟตา (Division Chrysophyta) สาหร่ายในกลุ่มนี้มีรงควัตถุฟูโคแซนทิน เหมือนสาหร่ายสีน้ำตาล แต่มีในปริมาณน้อยกว่า แบ่งได้เป็น พวกใหญ่ คือ สาหร่ายสีเขียวแกมเหลือง สีน้ำตาลแกมเหลือง และไดอะตอม กลุ่มที่มีประโยชน์ทางเศรษฐกิจมากคือ ไดอะตอม เนื่องจากการตาย ทับถม กันของพวกไดอะตอมเป็น เวลานาน จนกลายเป็นไดอะตอมมาเชียส เอิร์ท (diatomaceous earth) ซึ่งมีประโยชน์ในด้านอุตสาหกรรมต่างๆ มากมาย เช่น ยาขัดเครื่องเงิน เครื่องทองเหลือง ใช้ในการฟอกสี และเป็นฉนวน


ภาพที่ 6 ภาพไดะตมชนิดต่างๆ
ที่มา : http://www.eou.edu/~kantell/img1023.jpg


 ดิวิชัน ไพร์โรไฟตา (Division Pyrrophyta) 


        ดิวิชัน ไพร์โรไฟตา (Division Pyrrophyta) สาหร่ายในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเป็นเซลล์เดียว พบทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม ในทะเลบางครั้งจะเกิดปรากฏการณ์ น้ำทะเลเปลี่ยนสี ส่วนใหญ่ จะเกิดจาก สาหร่ายในกลุ่มนี้เจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนมากผิดปกติ (water boom) ซึ่งชาวทะเลเรียกว่า ขี้ปลาวาฬ


ภาพที่ 7 สาหร่ายในดิวิชันไพร์โรไฟตา
ที่มา : http://www.ufrrj.br/institutos/it/de/acidentes/fito.gif


 ดิวิชัน โรโดไฟตา (Division Rhodophyta) 

       ดิวิชัน โรโดไฟตา (Division Rhodophyta) สาหร่ายในกลุ่มนี้มีชื่อเรียกทั่วไปว่า สาหร่ายสีแดง มีประโยชน์ต่อมนุษย์เช่นเดียวกับสาหร่ายสีน้ำตาล เนื่องจากสารเมือกที่สกัดออกจาก ผนังเซลล์เรียกว่า คาร์แรจีแนน (carrageenan) นำมาผลิตเป็นวุ้นได้ นอกจากนี้สาหร่ายสีแดง ยังนำมาประกอบ เป็นอาหารโดยตรงที่ทุกคนรู้จักกันดีในชื่อ จีฉ่าย

ภาพที่ 8 สาหร่ายดิวิชัน โรโดไฟตา
ที่มา :  https://sites.google.com/site/gfopjrtigdioitwoirnlkfgoi/.jpg


ดิวิชันมิกโซไมโคไฟตา ( Division Myxomycophyta) 

        ดิวิชันมิกโซไมโคไฟตา ( Division Myxomycophyta) เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะ เป็นเมือก ข้นสีขาว สีเหลืองหรือสีส้ม อาศัยอยู่ในบริเวณชื้นเเฉะ เช่น กองไม้ผุ ตามพื้นดินร่มชื้น เช่นเดียวกับเห็ดรา ส่วนใหญ่ดำรงชีพเเบบภาวะมีการย่อยสลาย เเต่ก็มีบางชนิดเป็นปรสิต ตัวอย่างสิ่งมีชีวิตได้เเก่ พวกราเมือก ( Slime mold )

ภาพที่ 9 ราเมือก
ที่มา : http://www.ucmp.berkeley.edu/protista/physarum.gif


ที่มา :http://www.ipecp.ac.th/ipecp/cgi-binn/BP1/Program/index.html

ที่มา : http://www.ipecp.ac.th/ipecp/cgi-binn/BP1/Program/chapter7/p8_1.html

ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ : https://supanya131.wordpress.com