อาณาจักรมอนอรา




ที่มา : https://3.bp.blogspot.com/-Y9-ZO8oCi34/WVJ6BHdO4pI//s320/p13.gif


ลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรมอเนอรา

    
     เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่มีโครงสร้างเซลล์แบบโพรคาริโอต (prokaryotic cell) ในขณะที่สิ่งมีชีวิตอื่นๆทุกอาณาจักรมีโครงสร้างเซลล์แบบยูคารีโอต (eukaryotic cell)

     - ไม่มีออร์แกเนลล์ชนิดมีเยื่อหุ้มเช่น ร่างแหเอนโดพลาสซึม กอลจิคอมเพลกซ์ ไลโซโซม คลอโรพลาสต์ มีเฉพาะออร์แกเนลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้มคือไรโบโซม


สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรนี้แบ่งเป็น ไฟลัม คือ ดังนี้
     1. Phylum  Schizophyta (ไฟลัมซิโซไฟตา) ได้แก่แบคทีเรีย
     2. Phylum  Cyanophyta หรือ Cyanobacteria (ไซยาโนแบคทีเรีย) ได้แก่สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน


Phylum  Schizophyta (ไฟลัมซิโซไฟตา) 

             -สิ่งมีชีวิตที่จัดอยู่ในไฟลัมนี้  ได้แก่ แบคทีเรีย
ลักษณะสำคัญ
           -เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว ผนังเซลล์คล้ายร่างแห เรียกว่า mucopeptide(มิวโคเปปไทด์) หรือ glucosaminopeptide  (กลูโคซามิโนเปปไทด์) เพราะประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรตและกรดอะมิโน


ภาพที่ 1  ส่วนประกบของแบคทีเรีย
ที่มา :http://www.ucmp.berkeley.edu/bacteria/bacteriamm.html


รูปร่างของแบคทีเรีย
     ลักษณะรูปร่าง มี 3 ลักษณะคือ
           1. รูปร่างกลม เรียกว่า coccus           
           2. รูปร่างแบบแท่งยาว เรียกว่า bacillus
           3. รูปร่าง เกลียว เรียกว่า spirillum 
          
ภาพที่ 2 ภาพแสดงตัวอย่างรูปร่าของแบคทีเรีย
ที่มา : https://sites.google.com/site/gfopjrtigdioitwoirnlkfgoi/.jpg
การเรียงตัวของแบคทีเรีย 
             การเรียงตัวของแบคทีเรีย  มีหลายแบบ เช่น
          Micrococcus : เซลล์เดี่ยว
          Diplococcus : เซลล์เรียงเป็นคู่
          Streptococcus : เซลล์เรียงต่อเป็นสาย
          Staphylococcus : เซลล์เป็นกลุ่มรูปร่างไม่แน่นอน
ภาพที่ 2  การเรียงตัวของแบคทีเรีย
ที่มา : http://www.soilandhealth.org/01aglibrary/010112Krasil/Fig.20.jpeg

ประโยชน์ของแบคทีเรีย
     1. ด้านอุตสาหกรรม เช่นการผลิตอาหารหมัก ใช้ฟอกหนัง
     2. ด้านการเกษตร เช่นใช้เป็นปุ๋ย
     3. การทดสอบคุณภาพน้ำ
     4. ทางด้านการแพทย์ เช่นการผลิตยาปฏิชีวนะ
     5. ใช้ในเทคโนโลยีชีวภาพ โดยใช้เทคนิคทางพันธุวิศวกรรมสร้างแบคทีเรียที่มีลักษณะต่าง ๆ
     6. ช่วยย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิตให้เป็นอาหารของพืช

โทษของแบคทีเรีย
     1. ผลิตสารพิษที่เป็นอันตราย
     2. ทำให้เกิดโรคต่างๆ ใน คน เช่น ไทฟอยด์ อหิวาตกโรค ปอดบวม วัณโรค คอตีบ สัตว์ เช่น แอนแทรกซ์ บาดทะยัก และพืช เช่น โรครากเน่า โรคใบไม้ของสาลี่


Phylum  Cyanophyta (ไซยาโนแบคทีเรีย)

   
    -ได้แก่ สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (Blue-green algae) ปัจจุบันเรียกชื่อใหม่ว่า Cyanobacteria 

ลักษณะของสิ่งมีชีวิตในไฟลัมไซยาโนไฟตา คือ

     1. ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส เป็นเซลล์พวกโปรคารีโอต ไม่มี flagella
     2. มี chlorophyll phycocyanin phycorythin กระจายในเซลล์ แต่ไม่ได้รวมเป็น chloroplast
     3. ผนังเซลล์เป็น cellulose และ pectin
     4. มีขนาดเล็ก อาจอยู่ในลักษณะ
          4.1 เซลล์เดี่ยว หรือเซลล์กลุ่ม เช่น Gloeocapsa , Chroococcus และ Eucapsis

ภาพที่ 3 ลักษณะของสาหร่ายที่อยู่เดี่ยว หรือเป้นกลุ่ม
ที่มา : https://sites.google.com/site/gfopjrtigdioitwoirnlkfgoi/_/rsrc/.jpg


                4.2 เซลล์ที่จัดเรียงเป็นสาย เช่น Anabaena , Oscillatoria และ Spirulina

ภาพที่  4 ลักษณะของสาหร่ายที่เรียงตัวกันเป็นสาย
ที่มา : https://sites.google.com/site/gfopjrtigdioitwoirnlkfgoi/_/rsrc/.jpg



การสืบพันธุ์ของ Cyanocacteria
     
     1. การแบ่งตัว Binary fission.
     2. การหักเป็นท่อน (fragmentation) พบในพวกที่เป็นสาย
     3. สร้างสปอร์หรือสร้างเซลล์พิเศษ เช่น akinete

ประโยชน์
    
     - เป็นผู้ผลิตอาหาร และ O2
     - Spirulina หรือเกลียวทอง มี protein สูง ใช้ทำอาหารเสริมคนและสัตว์
     - Nostoc Anabaena Oscillatori สามารถเพิ่มความตรึง ทำเป็นปุ๋ยในดิน เช่น แหนแดง (Azolla) ซึ่ง Anabaena อยู่ช่งว่างกลางใบ


ที่มา  :http://www.ipecp.ac.th/ipecp/cgi-binn/BP1/Program/index.html

                        ที่มา : http://www.ipecp.ac.th/ipecp/cgi-binn/BP1/Program/chapter7/p8_1.html

ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ : https://kingdommoneraluv.wordpress.com






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น