การจัดจำแนกสิ่งมีชีวิต




ภาพที่ 1 ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต
ที่มา:https://dimichri65.blogspot.com

การจัดจำแนกสิ่งมีชีวิต (classification of organisms)การจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ไม่ใช่เพียงเป็นการบอกชื่อชนิดของสิ่งมีชีวิตเท่านั้นแต่จะต้องสามารถบ่งบอกถึงลำดับของสิ่งมีชีวิตและตำแหน่งในการเกิดขึ้นของชนิดในขบวนการวิวัฒนาการได้ด้วยการศึกษาชนิด ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตและความสัมพันธ์ในเชิงวิวัฒนาการระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างๆ เรียกว่าอนุกรมวิธาน taxonomy หรืออาจเรียกว่า systematics แต่นักชีววิทยาบางส่วนอาจจะแยกทั้งสองศาสตร์นี้ออกจากกัน โดยถือว่า taxonomyเป็นการศึกษาเพื่อให้คำอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตนั้นๆ (description of species) ส่วน systematics เป็นการศึกษาเพื่อจัดกลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่มีวิวัฒนาการมาเหมือนกันให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน ซึ่งสามารถ ใช้ในการอธิบายความสัมพันธ์ของชาติวงศ์วานและนำมาจัดเป็นประวัติชาติพันธุ์(phylogeny) ของสิ่งมีชีวิตกลุ่มต่างๆได้ การจัดทำphylogeny ของสิ่งมีชีวิตสามารถทำได้ในทุกระดับของสิ่งมีชีวิต เช่นการทำ phylogeny เพื่อแสดงความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ใน อาณาจักรพืชอาณาจักรสัตว์และความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระดับอื่นๆเช่นในระดับสกุล(genus)การจำแนกสิ่งมีชีวิตมีหลายระบบ ดังนี้
                1. Artificial  system  จัดจำแนกสิ่งมีชีวิตโดยพิจารณาลักษณะภายนอกทั่ว ๆ  ไปเท่าที่สังเกตได้  พวกที่มีลักษณะคล้ายกันจัดไว้พวกเดียวกัน พวกที่มีลักษณะต่างกันก็แยกออกไป  ระบบนี้นิยมใช้ในระยะ  ค.ศ. ที่ 17 - 18
                2. Natural  system  จำแนกโดยอาศัยลักษณะธรรมชาติ  ลักษณะภายนอก  ลักษณะภายใน  พฤติกรรมและนิเวศน์วิทยา  ระบบนี้ใช้ระหว่างกลาง  ค.ศ. ที่  18 – 19
                3. Phylogenetic  system   พิจารณาถึงความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต  และการมีบรรพบุรุษร่วมกัน  และได้นำความรู้แผนใหม่ทางชีววิทยาและวิทยาศาสตร์สาขาอื่น ๆ เข้ามาประกอบด้วย  ระบบนี้ได้รับความนิยมนำมาใช้จานถึงปัจจุบัน
                4. Modern  system  ระบบนี้เป็นการผสมระหว่าง  Natural  system  กับ Phylogenetic  system  เข้าด้วยกันโดยรวมลักษณะภายนอก  ลักษณะภายใน  เอมบริโอ ลักษณะทางชีวเคมี  เช่นผนังเซลล์ประกอบด้วยสารอะไรบ้าง มีอาหารเก็บไว้ที่ไหนมีรงควัตถุอะไร  จำนวนโครโมโซม  รวมทั้งสภาวะแวดล้อมของพืชและซากดึกดำบรรพ์(fossil) มาเป็นเกณฑ์พิจารณา


ที่มา:https://sites.google.com.

ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.nana-bio.com/e-learning/biodiversity/biodiversity03/Biodiversity03.html







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น