อาณาจักรสัตว์




ที่มา : http://images.slideplayer.in.th/8/2051055/slides/slide_2.jpg
          

          อาณาจักรสัตว์เป็นกลุ่มสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ ประกอบด้วยเซลล์ชนิดยูแคริโอต การจำแนกเป็นไฟลัมต่างๆใช้ลักษณะสำคัญคือ จำนวนชั้นของเนื้อเยื่อ ช่องภายในตัว ปล้องขา ลำตัว ชนิดของท่อทางเดินอาหาร สมมาตร (symmetry) ของลำตัว ชนิดของระบบไหลเวียน และการพัฒนาของระบบอื่นๆ
        สิ่งมีชีวิตที่จัดอยู่ในอาณาจักรมีมากกว่า 1.7 ล้านสปีชีส์ ในจำนวนนี้เป็นแมลงประมาณ 6 แสนชนิด สัตว์ถือเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศในแง่ของผู้บริโภค ซึ่งเป็นผลทำให้มีการถ่ายทอดพลังงานไปยังผู้บริโภคระดับต่างๆ นอกจากนี้สัตว์ยังเป็นตัวทำให้เกิดแก๊คาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งมีความสำคัญในการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช และก่อให้เกิดความสมดุลในธรรมชาติ  ซึ่งแบ่งย่อยเป็นไฟลัมต่างๆมากถึง 30 ไฟลัมในปัจจุบัน แต่มีไฟลัมที่สำคัญมี ไฟลัมคือ
               
1. ไฟลัมพอริเฟอรา (Phylum Porifera)
2. ไฟลัมซีเลนเทอราตา (Phylun Coelenterata)
3. ไฟลัมแพลทิเฮลมินทีส (Phylum Platyhelminthes
4. ไฟลัมเนมาโทดา (Nematoda)           
5. ไฟลัมแอนเนลิดา (Phylum Annelida)
6. ไฟลัมมอลลัสกา (Phylum Mollusca)
7. ไฟลัมอาร์โทรโพดา (Phylum Arthropoda
8. ไฟลัมอีไคโนเดอร์มาตา (Phylum Echinodermata
9. ไฟลัมคอร์ดาตา (Phylum Chordata)

ภาพที่ 1 ไฟลัมในอาณาจักรสัตว์
ที่มา : https://image.slidesharecdn.com/ss-160214084922/95/-3-638.jpg?cb=1455439840

  1. ไฟลัมพอริเฟอรา(PHYLUM PORIFERA)  

               สัตว์ที่ลำตัวเป็นรูพรุน ได้แก่ ฟองน้ำ

 ลักษณะสำคัญของสัตว์ใน Phylum Porifera

- เป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการต่ำสุด และ ไม่มีเนื้อเยื่อแท้จริง (Parazoa)
- ตัวเต็มวัยเกาะกับที่ จึงไม่มี nervous system และ sense organ
- มีทั้งอาศัยในน้ำจืดและน้ำเค็ม
- มีสีสดใส (แดง ส้ม เหลือง ม่วง) เกิดจากรงควัตถุที่อยู่ในเซลล์ผิว
- ฟองน้ำที่มีรูปร่างซับซ้อนน้อยที่สุดจะมีสมมาตรรัศมี แต่ฟองน้ำส่วนใหญ่ไม่มีสมมาตร
- จะสร้าง Gemmule (แตกหน่อ)เวลาสภาวะแวดล้อมไม่เหมาะสม
- มีโครงร่างแข็งค้ำจุน (Spicule ที่เป็นหินหรือแก้ว , Spongin ที่เป็นเส้นใยโปรตีน)  

ภาพที่ 2 ภาพสัตว์ในไฟลัมพอริเฟอรา
ที่มา : https://sites.google.com/site/gfopjrtigdioitwoirnlkfgoi/_/rsrc/1468888756916/xanacakr-sing-mi-chiwit/xanacakr-satw/224477-horz.jpg

2. ไฟลัมซีเลนเทอราตา(PHYLUM COELENTERATA) 

              ได้แก่ แมงกะพรุน ดอกไม้ทะเล ปะการัง กัลปังหา และไฮดรา

ลักษณะสำคัญของสัตว์ใน Phylum Coelenterata

- ร่างกายประกอบด้วย เนื้อเยื่อ 2 ชั้นคือ Epidermis เเละ Gastrodermis 
- ระหว่างชั้นเนื้อเยื่อมีสารคล้ายวุ้นเรียกว่า Mesoglea เเทรกอยู่ 
- ลำตัวกลวงลักษณะเป็นถุงตันมีช่องเปิดช่องเดียวเรียกว่า gastrovascula cavity ทำหน้าที่ เป็นทางเดินอาหารอาหารเข้าเเละกากอาหารออกทางช่องเปิดเดียวกัน 
- มีหนวดอยู่รอบปากเรียกว่า เทนทาเคิล ( tentacle )ใช้สำหรับจับเหยื่อ
- ที่หนวดมีเซลล์สำหรับต่อยเรียกว่า cnidocyte เเละมีเข็มสำหรับต่อยเรียกว่า nematocyst
- มีวงจรชีพสลับ
- สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ โดยการแตกหน่อ
- มี 2 เพศในตัวเดียวกัน

ภาพที่ 3 ภาพสัตว์ในไฟลัมซีเลนเทอราตา
ที่มา : https://sites.google.com/site/gfopjrtigdioitwoirnlkfgoi/_/rsrc/1468888758383/xanacakr-sing-mi-chiwit/xanacakr-satw/31_20071127114210-tile.jpg

3. ไฟลัมแพลทิเฮลมินทิส(PHYLUM PLATYHELMINTHES) 

              ได้แก่ พยาธิใบไม้ พยาธิตัวตืด และพลานาเรีย

ลักษณะสำคัญของสัตว์ใน Phylum Platyhelminthes

- มีสมมาตรเป็นแบบครึ่งซีก (Bilateral symmetry)
- ไม่มีช่องว่างในลำตัว (Acoelomate animal) เนื่องจากเนื้อเยื่อชั้นกลางมีเนื้อเยื่อหยุ่นๆบรรจุอยู่เต็มไปหมด
- ไม่มีระบบหมุนเวียนโลหิต ไม่มีเส้นเลือด ไม่มีหัวใจ สารอาหารไปเลี้ยงเซลล์โดยการแพร่ จากทางเดินอาหารเข้าสู่เซลล์โดยตรง
-  มีระบบทางเดินอาหารเป็นแบบไม่สมบูรณ์มีปากแต่ไม่มีทวารหนัก และในพวกพยาธิตัวตืดไม่มีทางเดินอาหาร
- มีระบบประสาทอยู่ทางด้านหน้าและแตกแขนงออกไปทางด้านข้างของลำตัว
- มีทั้งสองเพศในตัวเดียวกัน สามารถผสมพันธุ์ได้ภายในตัวเอง (Self fertilization) และผสมพันธุ์ข้ามตัว (Cross fretilization)

ภาพที่ 4 ภาพสัตว์ในไฟลัมแพลทิเฮลมินทิส
ที่มา : https://sites.google.com/site/gfopjrtigdioitwoirnlkfgoi/_/rsrc/1468888756961/xanacakr-sing-mi-chiwit/xanacakr-satw/awb_image3012255084658-horz.jpg

4. ไฟลัมนีมาโทดา(PHYLUM NEMATOD) 

                ได้แก่ พยาธิตัวกลมต่างๆ เช่น พยาธิไส้เดือน ไส้เดือนฝอย และหนอนในน้ำส้มสายชู

ลักษณะสำคัญของสัตว์ใน Phylum Nemetoda

- ลำตัวกลมยาวหัวท้ายเเหลม ไม่มีรยางค์
- มีเปลือกเป็นคิวติเคิลหนาปกคลุม
- สมมาตรครึ่งซีก
- มีทางเดินอาหารสมบูรณ์ มีทั้งปากเเละทวารหนัก 
- ร่างกายมีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น
- มีช่องลำตัวเทียม ( pseudocoelom )อยู่ระหว่างมีโซเดิร์มเเละเอนโดเดิร์มซึ่งมีของเหลว บรรจุอยู่เต็ม 
 - ระบบประสาท เป็นวงเเหวนรอบคอ ต่อกับเส้นประสาทที่ยาวตลอดลำตัว
- ไม่มีระบบไหลเวียนเลือดเเละระบบหายใจ
- การสืบพันธุ์เเบบอาศัยเพศ มีตัวผู้ตัวเมียคนละตัวกัน ไข่มีสารไคตินหุ้มจึงทนทานต่อเเวดล้อมได้ดี

ภาพที่ 5 ภาพสัตว์ในไฟลัมนีมาโทดา
ที่มา : https://sites.google.com/site/gfopjrtigdioitwoirnlkfgoi/_/rsrc/1468888756660/xanacakr-sing-mi-chiwit/xanacakr-satw/409_1-horz.jpg

5. ไฟลัมแอนนิลิดา (PHYLUM ANNILIDA) 

                 ได้แก่ ไส้เดือนดิน แม่เพรียง ทากดูดเลือด และปลิงน้ำจืด

ลักษณะสำคัญของสัตว์ใน Phylum Annilida

- มีลำตัวกลมยาวเป็นปล้องๆ มองเห็นภายนอกเป็นวงเเละภายในมีเนื้อเยื่อกั้นระหว่างปล้อง เรียกว่า เซปตา ( septa ) 
- เเต่ละปล้องมีอวัยวะ คือ เดือย ( saeta ) 4 คู่ เนฟริเดีย ( อวัยวะขับถ่าย )1 คู่ เส้นประสาท 3 คู่ ทางเดินอาหารเเละช่องลำตัวส่วนหนึ่ง ยกเว้นปล้อง
- ที่มีหัวที่ซึ่งมีอวัยวะสำคัญ ( สมอง คอหอย หัวใจ )
- ร่างกายมีสมมาตรครึ่งซีก
- มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น
- มีช่องลำตัวเเท้จริง ( coelom ) ซึ่งเป็นช่องลำตัวในเนื้อเยื่อมีโซเดิร์ม
- ระบบประสาทประกอบด้วย ปมสมองที่หัว 1 คู่ และ เส้นประสาทใหญ่ด้านท้อง

ภาพที่ 6  ภาพสัตว์ในไฟลัมแอนนิลิดา
ที่มา : https://sites.google.com/site/gfopjrtigdioitwoirnlkfgoi/_/rsrc/1468888758102/xanacakr-sing-mi-chiwit/xanacakr-satw/crevette_palaemon_serratus-tile.jpg

6. ไฟลัมอาร์โทรโปดา (PHYLUM ARTHROPODA) 

               ได้แก่ กุ้ง กั้ง ปู แมลง เห็บ ไร ตะขาบ กิ้งกือ แมงมุม แมงดาทะเล

ลักษณะสำคัญของสัตว์ใน Phylum Arthropoda

- มีลำตัวเป็นปล้องและมีรยางค์เป็นข้อๆต่อกัน (jointed appendage) ยื่นออกมาจากแต่ละปล้องของลำต
- มีจำนวนชนิดมากที่สุดในอาณาจักรสัตว์ ประมาณว่ามีถึงกว่า 9 แสนชนิดที่มนุษย์เราได้ค้นพบ
- สามารถอาศัยอยู่ได้ในแทบทุกสภาพภูมิประเทศบนโลก นับว่าประสบความสำเร็จในการ ดำรงชีวิตบนโลกเป็นอย่างมาก เห็นได้จากการที่เราพบสัตว์เหล่านี้ได้แทบทุกหนทุกแห่งทุกฤดูกาล และพบเป็นจำนวนมาก
- มีโครงสร้างของร่างกายที่แข็งแรง
 - มีระบบประสาทที่เจริญดี มีอวัยวะรับความรู้สึกหลายชนิด
- มีการแบ่งสัดส่วนของร่างกายเป็นข้อปล้องชัดเจน 3ส่วน คือ หัว(Head) , อก(Thorax) และท้อง(Abdomen)
- ระบบหมุนเวียนเป็นระบบเปิด ประกอบไปด้วยหัวใจ เลือด และแอ่งเลือด (Hemocoel)


ภาพที่ 7 ภาพสัตว์ในไฟลัมอาร์โทรโปดา
ที่มา : https://sites.google.com/site/gfopjrtigdioitwoirnlkfgoi/_/rsrc/1468888757631/xanacakr-sing-mi-chiwit/xanacakr-satw/SnailMesodonClausus01-horz.jpg

7. ไฟลัมมอลลัสกา(PHYLUM MOLLUSCA) 

               สัตว์ที่มีลำตัวอ่อนนุ่ม ได้แก่ หมึกและหอยชนิดต่างๆ

ลักษณะสำคัญของสัตว์ใน Phylum Mollusca

- ร่างกายจะแบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก ได้แก่
         1. head and foot
         2. visceral mass
         3. mantle, palium  เกิด mantle cavity มีเหงือกภายใน 
- สัตว์ในไฟลัมนี้มีลำตัวอ่อนนุ่ม บางชนิดอาจมีเปลือกแข็งหุ้มลำตัวเป็น CaCO3
- แยกเพศผู้-เมีย 
- ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในน้ำทั้งน้ำจืดและน้ำทะเล มีอาศัยอยู่บนบกบ้าง
 - อวัยวะในการแลกเปลี่ยนแก๊สประกอบด้วย
          1. เหงือก (gill) อยู่ภายในช่องแมนเติล พบในมอลลัสทั่วไป
          2. ผิวตัว  ในทากทะเล (sea slug, nudibranch) ผิวตัวจะเปลี่ยนรูปไปเป็นแขนงอยู่บนลำตัวเรียกว่า เซอราตา (cerata) หรือบางชนิดมีอยู่รอบทวารหนัก (anal gill)
          3. ช่องแมนเติลหรือปอด  หอยฝาเดียวที่ขึ้นมาอยู่บนบกจะมีช่องแมนเติลที่มีผนังยื่นลงมากั้นเป็นห้อง มีของเหลวหล่อเลี้ยงในช่องนี้ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนแก๊สได้


ภาพที่ 8 ภาพสัตว์ในไฟลัมมอลลัสกา
ที่มา : https://sites.google.com/site/gfopjrtigdioitwoirnlkfgoi/_/rsrc/1468888756737/xanacakr-sing-mi-chiwit/xanacakr-satw/Fromia-indica-horz.jpg

8. ไฟลัมเอไคโนเดอร์มาตา (PHYLUM ECHINODERMATA)

                 สัตว์ที่ผิวหนังมีหนามขุรขระ ได้แก่ ดาวทะเล เม่นทะเล เหรียญทะเล ปลิงทะเล ดาวเปราะ

ลักษณะสำคัญของสัตว์ใน  Phylum Echinoderm

- สมมาตรร่างกาย ตัวอ่อนเป็นเเบบครึ่งซีก ตัวเต็มวัยมีเมเเทมอร์โฟซิสกลายเป็นสมมาตรเเบบรัศมี
- ลำตัวเเบ่งเป็น 5 ส่วนหรือ ทวีคูณของ 5 ยื่นออกมาจากเเผ่นกลมที่เป็นศูนย์กลาง
- มีโครงร่างเเข็งภายใน มีเเผ่นหินปูนเล็กๆ ที่ยึดติดกันด้วยกล้ามเนื้อหรือผิวหนังที่ปกคลุมอยู่บางชนิด
- มีเส้นประสาทเป็นวงเเหวนรอบปาก เเละเเยกเเขนงไปตามเเขน
- การเคลื่อนไหวใช้ระบบท่อน้ำ ( water vascula system ) ภายในร่างกาย
- การสืบพันธุ์ แบ่งเป็นเเบบอาศัยเพศโดยมีการปฎิสนธิภายนอก และ เเบบไม่อาศัยเพศบางชนิด เช่น การขาดของเเขนใดเเขนหนึ่ง ส่วนที่ขาดก็จะเจริญไปเป็นตัวเต็มอีกทีหนึ่ง

ภาพที่ 9 ภาพสัตว์ในไฟลัมเอไคโนเดร์มาตา
ที่มา : https://sites.google.com/site/gfopjrtigdioitwoirnlkfgoi/_/rsrc/1468888756737/xanacakr-sing-mi-chiwit/xanacakr-satw/Fromia-indica-horz.jpg

9. ไฟลัมคอร์ดาตา (PHYLUM CHORDATA) 

                สัตว์มีกระดูกสันหลัง มีสมมาตรด้านข้าง มีช่องตัวอย่างแท้จริง มีระบบต่างๆพัฒนาสูงสุด

คุณสมบัติเฉพาะของ Phylum Chordata 

- มีโนโตคอร์ด (Notochord) ซึ่งเป็นแกนค้ำจุนหรือพยุงกายเกิดขึ้นในระยะใดระยะหนึ่งของชีวิต หรือตลอดชีวิต ในพวกสัตว์ชั้นสูงมีกระดูกอ่อนหรือกระดูกแข็งแทนโนโตคอร์ด
- มีไขสันหลังเป็นหลอดยาวกลวงอยู่ทางด้านหลัง (Dorsal hollow nerve tube) เหลือทางเดินอาหารซึ่งแตกต่างจากสัตว์พวกไม่มีกระดูกสันหลัง ซึ่งมีระบบประสาทอยู่ทางด้านท้อง(Ventral nerve cord) ใต้ทางเดินอาหารและเป็นเส้นตัน
- มีช่องเหงือก (Gill slit) ในระยะใดระยะหนึ่งของชีวิต หรือตลอดชีวิตในพวหสัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นสูง เช่น สัตว์ปีก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมจะมีช่องเหงือกตอนเป็นตัวอ่อนเท่านั้น เมื่อโตขึ้นช่องเหงือกจะปิดส่วนปลามีช่องเหงือกตลอดชีวิต
- มีหางเป็นกล้ามเนื้อ (Muscular post anal tail)

ภาพที่ 10 ภาพสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา
ที่มา : https://sites.google.com/site/gfopjrtigdioitwoirnlkfgoi/_/rsrc/1468888757397/xanacakr-sing-mi-chiwit/xanacakr-satw/070514_austral_kangaroo_vlrg_8a-tile.jpg

ที่มา  :http://www.ipecp.ac.th/ipecp/cgi-binn/BP1/Program/index.html

ที่มา : http://www.ipecp.ac.th/ipecp/cgi-binn/BP1/Program/chapter7/p8_1.html
























ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น