ที่มา : http://1.bp.blogspot.com/ Tq5fexTAY2I/s0JPE7SYHts/s1600/Biodiversity.jpg |
หลักเกณฑ์ในการจำแนกสิ่งมีชีวิต พิจารณาลักษณะสำคัญดังนี้
1. ลักษณะโครงสร้างทั้งภายนอกและภายในของสิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ โครงสร้างที่มีต้นกำเนิด เดียวกัน แต่ทำหน้าที่ต่างกัน (Homologous structure) เช่น แขนคน ขาสุนัข ปีกนก ครีบปลาวาฬ ครีบปลาต่าง ๆ จะเห็นว่าครีบปลาวาฬคล้ายแขนคนมากกว่าครีบปลา และโครงสร้าง ต่างกัน แต่ทำหน้าที่อย่างเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน (Analogous structure) เช่นปีกนกกับปีกผีเสื้อ เป็นต้น
ภาพที่ 1 ตัวอย่างโครงสร้างที่มีต้นกำเนิดเดียวกันแต่ทำงานแตกต่างกัน ที่มา : http://www.ipecp.ac.th/ipecp/image1/p3_clip_image001.gif |
ภาพที่ 2 ตัวอย่างโครงสร้างที่มีต้นกำเนิดต่างกันแต่ทำงานเหมือนกัน ที่มา : http://www.ipecp.ac.th/ipecp/cgi-binn/BP1/Program/chapter7/image1/p3_clip_image003.gif |
2. แบบแผนการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกเอมบริโอมีการเจริญคล้ายกันเพียงใด เช่น การเจริญของเอมบริโอของสัตว์มีกระดูกสันหลังจะต้องมีช่องเหงือก (gill slits) ที่บริเวณคอหอย แต่เมื่อเจริญเป็นตัวเต็มวัยแล้วจะปิดไปยกเว้นปลา จึงแตกต่างกันในระยะโตเต็มที่
ภาพที่ 3 ภาพแสดงแบบแผนการเจริญเติบโตขงสิ่งมีชีวิต ที่มา : http://www.schoolhousevideo.org/Media/embryology.jpg |
3. ความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ สิ่งมีชีวิตที่มาจาก บรรพบุรุษเดียวกัน ย่อมมีความสัมพันธ์กันหรืออาจเปรียบเทียบจากซากดึกดำบรรพ์
ภาพที่ 4 ภาพแสดงความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการ ที่มา : http://www.ipecp.ac.th/ipecp/cgi-binn/BP1/Program/chapter7/image1/p3_clip_image006.jpg |
4. การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม การสืบพันธุ์ การดำรงชีพ และพฤติกรรมต่าง ๆ
ที่มา : http://www.ipecp.ac.th/ipecp/cgi-binn/BP1/Program/chapter7/p4.html
ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่: https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%99
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น