อาณาจักรพืช



ที่มา : https://kingdomoflifeblog.files.wordpress.com/2016/12/slide_1.jpg?w=775

             พืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีกำเนิดขึ้นมาแล้วไม่ต่ำกว่า 400 ล้านปี มีหลักฐานหลายอย่างที่ทำให้เชื่อว่าพืชมีวิวัฒนาการมาจากสาหร่ายสีเขียว กลุ่ม Charophytes โดยมีการปรับตัวจากสภาพที่เคยอยู่ในน้ำขึ้นมาอยู่บนบก ด้วยการสร้างคุณสมบัติต่าง ๆ ที่เหมาะสมขึ้นมา เช่น มีการสร้างคิวติน (cutin) ขึ้นมาปกคลุมผิวของลำต้นและใบเรียกว่า คิวทิเคิล (cuticle) เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำ และการเกิด สโทมาตา (stomata) เพื่อทำหน้าที่ระบายน้ำและแลกเปลี่ยนก๊าซ เป็นต้น

    อาณาจักรพืชแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆคือ

          - พืชไม่มีท่อลำเลียง ได้แก่ Division Bryophyta

         พืชที่มีท่อลำเลียง ได้แก่ Division Psilophyta , Division Lycophyta , Division Sphenophyta , Division Pterophyta  , Division Coniferophyta  , Division Cycadophyta , Division Ginkophyta , Division Gnetophyta  , Division Anthophyta

    สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรนี้แบ่งเป็น 10 ดิวิชั่น คือ

1.Division Bryophyta พืชที่ไม่มีระบบท่อลำเลียง มีขนาดเล็ก ได้แก่ มอส ลิเวอร์เวิร์ต และฮอร์นเวิร์ด

ภาพที่ 1 ตัวอย่างพืชใน Division Bryhpyta
ที่มา : https://sites.google.com/site/gfopjrtigdioitwoirnlkfgoi/.jpg


2. Division Psilophyta พืชที่มีท่อลำเลียงชั้นต่ำ ไม่มีใบและรากที่แท้จริง ได้แก่ หวายทะนอย (Psilotum)


ภาพที่ 2 ตัวอย่างพืชใน Division Psilophyta
ที่มา : https://sites.google.com/site/gfopjrtigdioitwoirnlkfgoi/.jpg


3. Division Lycophyta พืชที่มีท่อลำเลียงที่มีลำต้น ใบ และรากที่แท้จริงแต่ยังมีใบขนาดเล็ก ได้แก่ ช้องนางคลี่ ( Lycopodium ) และ ตีนตุ๊กแก ( Sellaginella  )


ภาพที่ 3 ตัวอย่างพืชใน Division lycophyta
ที่มา : https://sites.google.com/site/gfopjrtigdioitwoirnlkfgoi/.jpg


4. Division Sphenophyta พืชที่มีท่อลำเลียง ลำต้นลักษณะเป็นข้อและปล้อง มีการสร้างสปอร์ ได้แก่ สนหางม้าหรือหญ้าถอดปล้อง ( Equisetum )


ภาพที่ 4 ตัวอย่างพืชใน Division Sphenophyta
ที่มา : https://sites.google.com/site/gfopjrtigdioitwoirnlkfgoi/.jpg


5. Division Pterophyta พืชที่มีท่อลำเลียง มีหลายชนิดแตกต่างกัน ได้แก่ เฟิร์น( Fern ) แหนแดง( Azolla ) และจอกหูหนู ( Salvinia )


ภาพที่ 5 ตัวอย่างพืชใน Division Pterophyta
ที่มา : https://sites.google.com/site/gfopjrtigdioitwoirnlkfgoi/.jpg


6. Division Coniferophyta พืชที่สร้างเมล็ดเปือย ส่วนใหญ่เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ได้แก่ พวกสน ( Pinus ) เช่น สนสองใบและสนสามใบ


ภาพที่ 6 ตัวอย่างพืชใน Division Coniferophyta
ที่มา : https://sites.google.com/site/gfopjrtigdioitwoirnlkfgoi/.jpg


7. Division Cycadophyta พืชที่สร้างเมล็ดเปือย ได้แก่ ปรง ( Cycad )


ภาพที่ 7 ตัวอย่างพืชใน Division Cycadophyta
ที่มา : https://sites.google.com/site/gfopjrtigdioitwoirnlkfgoi/.jpg


8. Division Ginkgophyta พืชที่สร้างเมล็ดเปือย ได้แก่ แปะก๊วย (Ginkgo biloba )


ภาพที่ 8 ตัวอย่างพืชใน Division  Ginkqophyta
ที่มา : https://sites.google.com/site/gfopjrtigdioitwoirnlkfgoi/.jpg


9. Division Gnetophyta พืชที่สร้างเมล็ดเปือย ได้แก่ มะเมื่อย (Gnetum)


ภาพที่ 9 ตัวอย่างพืชใน Division Gnetophyta
ที่มา : https://sites.google.com/site/gfopjrtigdioitwoirnlkfgoi/.jpg




10. Division Anthophyta  พืชที่สร้างเมล็ดมีสิ่งห่อหุ้ม ถือว่ามีวิวัฒนาการสูงสุด พบมากที่สุด ได้แก่ พืชดอก (Flowering plant)


ภาพที่ 10 ตัวอย่างพืชใน Division Anthophyta
ที่มา : https://sites.google.com/site/gfopjrtigdioitwoirnlkfgoi/.jpg


ที่มา  :http://www.ipecp.ac.th/ipecp/cgi-binn/BP1/Program/index.html

ที่มา : http://www.ipecp.ac.th/ipecp/cgi-binn/BP1/Program/chapter7/p8_1.htm

ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ : https://watikakandumee.wordpress.com




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น