ที่มา :https://cdn.slidesharecdn.com/ss_thumbnails/kfungi-151213040410-thumbnail-4.jpg |
อาณาจักรฟังไจ หมายถึงสิ่งมีชีวิตพวกเห็ดรา ตัวอย่างเช่น ราขนมปัง ยีสต์ ราเขียว ราดำ เห็ตต่าง ๆ มีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศโดยทำหน้าที่เป็นผู้ย่อยสลายอินทรียสาร ทำให้มีการหมุนเวียนในระบบนิเวศเห็ดรา เป็นสิ่งชีวิตที่เซลล์มีนิวเคลียสหรือมีเยื่อหุ้มนิวเคลียสเรียกว่า ยูแคริโอต (eukaryote) อาจเป็นสิ่งมีชีวิตที่เซลล์เดียวหรือหลายเซลล์ไม่มีคลอโรฟิลล์ สังเคราะห์อาหารเองไม่ได้กินอาหารโดยสร้าง น้ำย่อยแล้วปล่อยออกมาย่อยสารอินทรีย์จนเป็นโมเลกุลเล็กและดูดเข้าเซลล์ (saprophyte) ได้แก่ เห็ดและราชนิดต่างๆ
ลักษณะของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรฟังไจ
1. เซลล์เป็นแบบ Eucaryotic cell มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส
2. ไม่มีคลอโรฟิลล์ ดำรงชีวิตเป็นผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์ที่เน่าเปื่อย
3. ผนังเซลล์เป็นสารไคตินกับเซลลูโลส
4. มีทั้งเซลล์เดียวและเป็นเส้นใยเล็ก เรียกว่าไฮฟา (Hypha) รวมกลุ่ม เรียกว่าขยุ้มรา (mycelium)
สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรนี้แบ่งเป็น 4 ไฟลัม คือ
1. ไฟลัมไซโกไมโคตา (Phylum Zygomycota) ราที่มีวิวัฒนาการต่ำสุด
ลักษณะ
1. เซลล์เดี่ยวเจริญอยู่ในน้ำ บนบก และซากพืชซากสัตว์
2. เส้นใยชนิดไม่มีผนังกั้น
3. ต้องการความชื้น
4. ดำรงชีวิตแบบปรสิต(Parasite) และผู้ย่อยสลาย (saprophyte)
5. การสืบพันธุ์
- แบบไม่อาศัยเพศ สร้างสปอร์ เรียกว่า sporangiospore
- แบบอาศัยเพศ สร้างสปอร์ เรียกว่า zygospore
ภาพที่ 1 ภาพZygomycota ที่มา : http://www.teachersparadise.com/ency/de/media/c/cb/fliegenpilz.jpg |
ไฟลัมแอสโคไมโคตา (Phylum Ascomycota)
ลักษณะ
1. เซลล์เดียว ได้แก่ ยีสต์ นอกนั้นเป็นพวกมีเส้นใยมีผนังกั้นและเป็นราคล้ายถ้วย (cup fungi)
2. ดำรงชีวิตบนบก
3. การสืบพันธุ์
- แบบไม่อาศัยเพศ สร้างสปอร์เรียกว่า conidia ที่ปลายไฮฟา ส่วนยีสต์จะแตกหน่อ
- แบบอาศัยเพศ สร้างสปอร์ ที่มีชื่อว่า ascospore อยู่ในถุงเรียกว่า ascus
ไฟลัมดิวเทดโรไมโคตา (Phylum Deuteromycota)
ลักษณะ
1. เส้นใยมีผนังกั้น
2. สืบพันธุ์ไม่แบบอาศัยเพศเท่านั้น โดยสร้างสปอร์ที่เรียกว่า โคนิเดีย (conidia) จึงเรียกราในกลุ่มนี้ว่า Fungi Imperfecti
3. แต่หากเมื่อใดมีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศจะไปอยู่ใน Ascomycetes และ Basidiomycetes
ได้แก่ ราที่นำมาผลิตเพนิซิลลิน(Penicilium sp.) ราที่ใช้ผลิตกรดซิตริก (Aspergilus niger) รวมทั้งราที่ใช้ผลิต เนยแข็งราที่ทำให้เกิดโรคกลากเกลื้อน เท้าเปื่อย
ภาพที่ 4 ภาพAspergilus niger
ที่มา : http://dit.dru.ac.th/biology/image/fungi/deu2.gif
ที่มา :http://www.ipecp.ac.th/ipecp/cgi-binn/BP1/Program/index.html
ที่มา : http://www.ipecp.ac.th/ipecp/cgi-binn/BP1/Program/chapter7/p8_1.html
ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.slideshare.net/Songsak1/ss-45509805
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น